ปะกันภัยรถยนต์และ พ.ร.บ.

ตรอ.อุบลในเมือง รับรองสภาพรถ ให้บริการ ทำประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ.รถยนต์

  • ประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.)
  • ประกันภัยภาคสมัครใจ (ที่เรียกกันว่า ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ และ 3+)



พรบ. รถยนต์ ทำไมจึงต้องต่อทุกๆปี และมีประโยชน์อย่างไร?

โดยหลักแล้วการทำประกันรถมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.)ประกันภัยภาคสมัครใจ (ที่เรียกกันว่า ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ และ 3+)

พรบ. =  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
ประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.) เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกต้องทำและต้องมีไว้เป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะคนละตัวกับประกันภาคสมัครใจ ก็เพื่อว่าต้องการให้คนในรถทุกคันหรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้จัดทำ พรบ.ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในรถหรือนอกรถหรือบุคคลที่ใช้ถนน เดินถนน ถูกเฉี่ยวชน ผู้ที่ประสบภัยจากรถได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ใดก็ตามที่เกี่ยวกับรถ มั่นใจได้ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากเงินกองกลางอย่างทั้นท่วงที

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน
  • ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม 35,000 บาท
  • (1,2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น)

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
  1. กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท
  2. กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ 
  • นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 300,000 บาท
       3. ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน 4,000 บาท*

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด
  • กรณีบาดเจ็บ (1 + 3) 84,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร (2+3)
  • รวมกันแล้วไม่เกิน 304,000 บาท

โทษปรับ พรบ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
นอกจากจะเสียค่าปรับแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหาย แก่ชีวิตหรืออนามัยของผู้เสียหายด้วย หลายท่านอาจจะไม่เข้าใจ เข้าใจว่ามีประกันภาคสมัครใจ ประเภท 1 แล้วหายห่วงได้ แต่ประกันภาคสมัครใจจะชดเชยให้เฉพาะสำหรับรถของท่าน แต่ในส่วนของอนามัยหรือชีวิตบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ประสบภัยนั้น ประกันภัยภาคสมัครใจชดใช้ให้จากส่วนเกินของ พรบ.เท่านั้น

สรุปคือ พรบ.รถยนต์จะ จ่ายสูงสุดที 204,000 บาท ภาระนี้เจ้าของรถหรือผู้ก่อเหตุจะต้องเป็นคนรับผิดชอบก่อน ส่วนที่เหลือก็เป็นส่วนของประกันภัยภาคสมัครใจครับ


รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำ พรบ.รถยนต์
  1. รถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทน
  2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด
  3. รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ และรถยนต์ทหาร
  4. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอิสระที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ


ถานตรวจสภาพรถจังหวัดอุบล, ตรวจสภาพรถจังหวัดอุบล, ตรวจสภาพรถอุบลในเมือง, ตรอ.จังหวัดอุบล, ตรอ.อุบล, สถานตรวจสภาพรถจังหวัดนครราชสีมา, ตรวจสภาพรถจังหวัดนครราชสีมา, ตรอ.จังหวัดนครราชสีมา, ตรอ.นครราชสีมา, สถานตรวจสภาพรถจังหวัดโคราช, ตรวจสภาพรถจังหวัดโคราช, ตรอ.จังหวัดโคราช, ตรอ.โคราช, สถานตรวจสภาพรถจังหวัดกาฬสินธุ์, ตรวจสภาพรถจังหวัดกาฬสินธุ์, ตรอ.จังหวัดกาฬสินธุ์, ตรอ.กาฬสินธุ์, 0815444405, ubivubon, 045956580